วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แสดงความคิดเห็น

ในยุคโลกาภิวัฒน์สมัยใหม่เป็นการสื่อสารแบบไร้พรหมแดนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีค่อนข้างพัฒนาได้เร็วมากและมีบทบาทในการใช้ชีวิตของเรา                      ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กมีการใช้สื่อสารกัน บนเว็บ โพสต์ข้อความต่างๆ นาๆ แชท ติดต่อสื่อสารกัน ทำให้รู้จักวัยรุ่นไทยมีการใช้โทรศัพท์มือถือสื่อสารกันค่อนข้างมากในการใช้ชีวิตประจำวันมีเวลาว่างเป็นต้องโทรนี่เป็นเพราะกระแสนิยม                             ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ทำให้หลงงมงาย หมกมุ่นในเรื่องนี้ทำให้วัยรุ่นไทยไม่อยากอ่านหนังสือมากๆเพราะใช้เวลาว่างอยู่แต่กับสิ่งเหล่านี้เอง 

ชื่อปรัชญา  ขาวงาม  พศ. 1/1 เลขที่ 1

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

แสดงความคิดเห็น

เห็นด้วยเพราะว่า วัยรุ่นสมัยนี้นิยมใช้โทรศัพท์มือถือกันมาก ใช้ในทางที่ดีและใช้ในทางที่เสียปัญหาก็ตามมามากมายการที่เราใช้โทรศัพท์นานๆในการพูดกันนั้นก็ไม่ได้ผิดอะไรแต่เราควรคำนึงถึงข้อเสียด้วยว่าอาจจะส่งผลถึงสุขภาพร่างกายของเราด้วยเราต้องใช้เมื่อที่เราจำเป็นจริงๆไม่ควรจะใช้โทรตลอดเวลา ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีทันสมัยมากๆวัยรุ่นทุกคนก้าวถึงเทคโนโลยีกันทั้งนั้นจะไม่มีใครที่จะไม่นิยมการใช้โทรศัพท์เลยเพราะบางคนก็ใช้โทรศัพท์ในทางที่ดีเช่น ติดต่อสื่อสารกับพ่อแม่ แต่อีกบางส่วนจะติดต่อกับหนุ่มสาวมากกว่าและจะติดต่อสื่อสารในทางที่ไม่ดีมากนักดิฉันจึงคิดว่าควรใช้โทรศัพท์พอประมาณถ้าจำเป็นควรจะใช้ดีกว่า




นางสาว จันทร์จิรา ยงปัญญา พืชศาสตร์
ปวส. 1/1

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่9

แหล่งอ้างอิง กับ แหล่งข้อมูลอื่น ต่างกันอย่างไร
แหล่งอ้างอิง (references หรือ sources) ควรเป็นที่รวมแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการยืนยันเนื้อหาข้อมูลภายในบทความ เพื่อให้ผู้อ่านทราบแหล่งที่มาของข้อมูล และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิงได้หากต้องการ ตัวอย่างการอ้างอิง เช่น การนำข้อมูลในเว็บไซต์หรือหนังสือมาเขียนเรียบเรียงใหม่ในวิกิพีเดีย ซึ่งจำเป็นต้องระบุแหล่งที่มา เป็นต้น

สำหรับ แหล่งข้อมูลอื่น ใช้สำหรับรวมแหล่งข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในบทความ หรือไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ (ซึ่งอาจไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เป็นกลาง) แต่มีความเกี่ยวข้องกับบทความ และอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านหากต้องการศึกษาในเรื่องนั้นๆ เพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น บทวิจารณ์ของบุคคลที่มักจะไม่เป็นกลาง ถือเป็นแหล่งข้อมูลอื่น

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่8

แหล่งข้อมูลใดที่ควรใช้เป็นแหล่งอ้างอิง
แหล่งข้อมูลควรเป็นของบุคคลที่สามที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเนื้อหา ไม่ควรอ้างอิงเว็บบล็อก เว็บบอร์ด เว็บไซต์ส่วนตัว หนังสือที่จ้างสำนักพิมพ์พิมพ์ขึ้นมาเอง เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจมีเนื้อหาที่ไม่เป็นกลาง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการประชาสัมพันธ์ไปยังเว็บไซต์หรือหนังสือเหล่านั้น การอ้างอิงเว็บไซต์ส่วนตัวจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นการอ้างถึง "คำพูด" จากผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ส่วนตัวดังกล่าว ควรอ้างอิงตามแหล่งข้อมูลต้นฉบับซึ่งไม่ละเมิดลิขสิทธิ์มาจากแหล่งอื่นอีกต่อหนึ่ง และหากเป็นไปได้แหล่งข้อมูลนั้นควรเป็นภาษาไทย

แหล่งอ้างอิงต้องมีความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะมาจากเว็บไซต์หรือหนังสือ ไม่ควรอ้างอิงจากคำบอกเล่ากันมาปากต่อปากหรืออ้างอิงไปที่ตัวบุคคล เพราะไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ ไม่ควรอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่เนื้อหาสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของข้อมูล เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบความมีตัวตนของผู้เขียนหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลได้ ไม่อ้างอิงบทความอื่นในวิกิพีเดียไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่น ถ้าเนื้อหาที่เขียนแปลมาจากวิกิพีเดียภาษาอื่นควรระบุแหล่งอ้างอิงตามต้นฉบับด้วย หรือหาแหล่งอื่นมาเพิ่ม

แหล่งอ้างอิงควรสามารถเข้าถึงได้โดยบุคคลทั่วไป มิใช่เอกสิทธิ์เฉพาะบางกลุ่มหรือต้องทำตามเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นได้ รวมทั้งเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องสมัครก่อนเข้าถึงเนื้อหา ไม่เป็นเอกสารภายในองค์กรที่ไม่มีการเผยแพร่สู่แหล่งสาธารณะ เช่นแผ่นพับ รายงาน งบการเงิน เป็นต้น (ปกติแล้วแผ่นพับมักจะให้เนื้อหาในทางโฆษณาซึ่งไม่ผ่านนโยบายความเป็นกลาง) หากเป็นแหล่งข้อมูลหนังสือ ควรมีเลข ISBN หรือ ISSN กำกับ เพื่อให้สามารถพิสูจน์ยืนยันและสืบค้นได้ง่ายตามห้องสมุด

แหล่งอ้างอิง กับ แหล่งข้อมูลอื่น ต่างกันอย่างไร
แหล่งอ้างอิง (references หรือ sources) ควรเป็นที่รวมแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการยืนยันเนื้อหาข้อมูลภายในบทความ เพื่อให้ผู้อ่านทราบแหล่งที่มาของข้อมูล และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิงได้หากต้องการ ตัวอย่างการอ้างอิง เช่น การนำข้อมูลในเว็บไซต์หรือหนังสือมาเขียนเรียบเรียงใหม่ในวิกิพีเดีย ซึ่งจำเป็นต้องระบุแหล่งที่มา เป็นต้น

สำหรับ แหล่งข้อมูลอื่น ใช้สำหรับรวมแหล่งข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในบทความ หรือไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ (ซึ่งอาจไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เป็นกลาง) แต่มีความเกี่ยวข้องกับบทความ และอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านหากต้องการศึกษาในเรื่องนั้นๆ เพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น บทวิจารณ์ของบุคคลที่มักจะไม่เป็นกลาง ถือเป็นแหล่งข้อมูลอื่น

ข่าวประจำสัปดาห์ที่7

การอ้างอิง
เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหาลงในบทความ คุณควรอ้างถึงแหล่งที่มาข้อมูลนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดข้อสงสัย หากคุณเขียนขึ้นจากความทรงจำ คุณควรค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เพื่ออ้างถึงมัน แต่ถ้าคุณเขียนขึ้นจากความรู้ของคุณเอง คุณก็ควรจะมีความรู้มากพอที่จะระบุแหล่งอ้างอิงที่ผู้อ่านสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ เป้าหมายหลัก คือ ช่วยเหลือผู้อ่าน และผู้เขียนคนอื่น ๆ

การอ้างอิงแหล่งที่มาจะมีความสำคัญมากในบทความที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หลีกเลี่ยงการใช้คำกล่าวเลื่อนลอย ถ้อยคำคลุมเครือ หรือถ้อยคำกำกวม (weasel word) เช่น "บางคนกล่าวว่า…" หรือ "มีผู้วิจารณ์ว่า…" แต่ควรทำให้การแก้ไขของคุณสามารถพิสูจน์ได้ โดยค้นคว้าว่าใครหรือกลุ่มใดเป็นผู้แสดงความเห็น รวมทั้งอ้างถึง หลักฐานของการแสดงความเห็นดังกล่าวด้วย โปรดจำไว้ว่าวิกิพีเดียไม่ใช่ที่สำหรับแสดงความคิดเห็นส่วนตัว

เนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง สามารถถูกผู้ใช้ลบได้ในทุกเมื่อ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ผู้อื่นอาจไม่พอใจที่คุณลบเนื้อหาโดยไม่ให้โอกาสคนอื่นเติมแหล่งอ้างอิง ดังนั้น คุณอาจจะ เติมป้าย {{ต้องการอ้างอิง}}, {{ต้องการอ้างอิงย่อหน้านี้}}, หรือ {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} หรือคัดเนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง ไปใส่หน้าอภิปรายแทน เพื่อรอจนกว่าจะพบแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

เมื่อใดที่ควรอ้างอิง
เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหา
เมื่อคุณตรวจสอบ ยืนยัน ความถูกต้องเนื้อหา
ข้อมูลจากคนกลาง: บอกด้วยว่าคุณได้มาจากไหน
เนื้อหาที่เป็น หรือน่าจะเป็นที่กังขา หรืออาจเป็นข้อมูลที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ
เมื่อคุณอ้างอิงคำพูด จากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
เมื่อคุณเสนอข้อมูลทางสถิติ หรือ อ้างถึงอันดับ หรือ ความเป็นที่สุด
เมื่อกล่าวถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอัตชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 6

นามานุกรม (Directories)
นามานุกรม คือ หนังสือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อบุคคล สถานที่หรือหน่วยงานต่าง ๆ จัดเรียงตามลำดับอักษรของชื่อนั้น ๆ โดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ สกุล ที่อยู่ ตำแหน่งหน้าที่และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ถ้าเป็นหน่วยงานจะบอกชื่อสถานที่ตั้ง ปีที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ ฯลฯ นามานุกรมบางครั้งอาจเรียกว่า ทำเนียบนาม

นามานุกรม แบ่งออกได้หลายประเภท คือ

1. นามานุกรมท้องถิ่น เป็นนามานุกรมที่จัดทำขึ้นโดยแยกตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์เขตนครหลวง

2. นามานุกรมของหน่วยงานหรือสถาบันต่าง ๆ เป็นนามานุกรมที่หน่วยงานหรือสถาบันต่าง ๆ จัดทำขึ้น เช่น ทำเนียบวัด ทำเนียบโรงเรียน นามานุกรมห้องสมุด

3. นามานุกรมในสาขาวิชาชีพ เป็นนามานุกรมของสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ หรือรายชื่อผู้ประกอบอาชีพเดียวกัน เช่น ทำเนียบนักเขียนไทย นามานุกรมนักดนตรีไทย ฯลฯ

4. นามานุกรมเพื่อการค้าและธุรกิจ ได้แก่ รายชื่อบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ จัดทำเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยหวังประโยชน์ทางการค้าและธุรกิจ

นามานุกรมที่ควรรู้จัก

1.คู่มือทำเนียบข้าราชการไทย โดย ข่าวสารทางธุรกิจและวิจัย

2.สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์

3.ทำเนียบโรงงานอุตสาหกรรมโดยกระทรวงอุตสาหกรรม

4.The Siam Directory : The Book of Facts & Figures โดย Consecmer International Limited.

5.Thailand National Directory

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 5

สิ่งพิมพ์รัฐบาล

สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publications)สิ่งพิมพ์รัฐบาล หมายถึง หนังสือ วารสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ตลอดจนโสตทัศนวัสดุต่างๆ และฐานข้อมูล ที่หน่วยงานราชการได้จัดทำขึ้น หรือเป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์เพื่อจำหน่าย หรือแจกจ่ายเป็นบริการ ให้เปล่าแก่หน่วยงานอื่นๆ ตลอดจนประชาชนที่สนใจ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ผลงานของทางราชการ สิ่งพิมพ์รัฐบาลที่พบเห็นอยู่เสมอๆ ได้แก่
1. รายงานประจำปี รายงานการค้นคว้าวิจัย รายงานการบริหารงาน
2. วารสารและรายงานการประชุม รายงานของคณะกรรมการต่างๆ
3. รายงานสถิติ รายงานการดูแล
4. ร่างกฎหมายและมติต่างๆ กฎหมาย คู่มือ ตำรา
5. งบประมาณ ประมวลรายได้
6. ทำเนียบนาม บรรณานุกรม ดรรชนี สาระสังเขป

ประเภทของสิ่งพิมพ์รัฐบาลแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1. บันทึกผลการบริหารงาน ของรัฐบาล หรือหน่วยงานราชการแต่ละแห่ง เช่น รายงานการประชุม รายงานประจำปี
2. รายงานการค้นคว้าวิจัย (Research Report) ของหน่วยงานรัฐบาล หรือได้รับทุนในการค้นคว้าวิจัยจากรัฐบาล
3. ความรู้ทั่วไป ในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งอยู่ในความสนใจของประชาชน
วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของสิ่งพิมพ์รัฐบาล
1. เพื่อเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐบาลให้ ประชาชนได้ทราบ
2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ความรู้ของหน่วยงานรัฐบาล เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชน
3. เพื่อแถลงนโยบาย การดำเนินงานให้เป็นที่รับรู้ และเข้าใจอย่างถูกต้อง
4. เป็นสื่อกลางประสานความเข้าใจระหว่างประชาชนกับรัฐบาล
5. เพื่อให้ประชาชนได้ทราบประกาศกฎหมายใหม่ๆ ข้อบังคับ และระเบียบต่างๆ ของทางราชการ
ประโยชน์และวิธีใช้
1. เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) ที่ให้หลักฐาน ข้อมูล สถิติและเรื่องราวทางราชการที่เชื่อถือได้
2. เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการต่างๆ และข้อเท็จจริงที่ทันสมัย
3. การใช้สิ่งพิมพ์รัฐบาล ควรพิจารณาประเภท และลักษณะของรูปแบบของสิ่งพิมพ์ให้ตรงกับความประสงค์
4. พิจารณาการเรียบเรียง วิธีใช้ และใช้สารบัญ ดรรชนี ประกอบการค้นหา เรื่องราว
การจัดหมวดหมู่และลงรายการงาน มีการจัดกลุ่มหนังสือโดยพิจารณาเนื้อหาสาระของหนังสือเป็นสำคัญ มีการกำหนดสัญลักษณ์ที่ถูกกำหนดขึ้นนี้จะเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งของหนังสือในห้องสมุดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1. รับหนังสือ Work Sheet จากงานทรัพยากรสารสนเทศ
2. ลงทะเบียนหนังสือพร้อมติด Barcode (ปรากฎเลขทะเบียน)
3. จัดหมวดหมู่และลงรายการในแบบบันทึกรายการข้อมูล (Work Sheet) โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
3.1 กด F2 เพื่อตรวจสอบข้อมูลรายการบรรณานุกรม
3.2 ตรวจสอบแล้วว่ามีในห้องสมุดให้ต่อ Copy3.3 ตรวจสอบแล้วว่าไม่มีข้อมูล บรรณารักษ์ให้เลขหมู่และหัวเรื่อง
4. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล (HORIZON)
5. พิมพ์สติกเกอร์แสดงเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ปีที่พิมพ์และฉบับ (ถ้ามี) และติดลงที่สันหนังสือห่างจากขอบล่าง 2 นิ้ว
6. ติดบัตรกำหนดส่งที่ปกหลังด้านใน
7. จัดเตรียมหนังสือใหม่เพื่อออกบริการ

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 4

รายงานประจำปี

ข้อมูลที่นำไปใส่ในรายงานประจำปี โดยส่วนใหญ่ จะสั้น กะทัดรัด และได้ใจความมากที่สุด ภายในกรอบของช่วงปีที่มีการจัดทำรายงานประจำปี มีคำถามว่า ทำอย่างไรกันบ้าง? คำตอบคือ
1. ควรเสนอข้อมูลในลักษณะของการสรุปข้อมูลในแต่ละด้าน จากนั้นนำมากรุ๊ปเป็นกลุ่ม หรือเป็นประเภท หากมีมากเกินไป ก็คำนึงถึงความกระชับมากที่สุด
2. แสดงข้อมูลในลักษณะรูปแบบของจำนวนข้อมูล ที่แสดงให้เห็นเป็นตาราง (หากข้อมูลใดที่ไม่สามารถแสดงข้อมูลจำนวนตัวเลขให้เห็นที่ชัดเจนได้ อาจจะแสดงในลักษณะของร้อยละก็ได้)
3. แสดงข้อมูลในลักษณะเปรียบเทียบเป็นรายปี โดยแสดงเป็นกราฟแท่งให้เห็นแต่ละปี
4. หากมีข้อมูลที่ไม่สามารถเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรายปีได้ ก็ให้แสดงข้อมูลเป็นสัดส่วนให้เห็น เช่น กราฟวงกลม ซึ่งลักษณะการแสดงข้อมูลในลักษณะแบบนี้ จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย
5. หากข้อมูลใดเห็นว่า มีความสำคัญ และใช้เป็นข้อมูลในการอ้างอิงเพื่อการใด การหนึ่ง ก็ให้แสดงข้อมูลไว้ในภาคผนวก ก็ได้ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนหน้าเอกสารที่มีข้อจำกัดว่า ไม่ควรมีหน้าเอกสารมากเกินไป หรืออยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารในยุคนั้น ๆ)
6. ข้อมูลใดที่ไม่มีการจัดทำมาก่อน และเกิดขึ้นในช่วงปีที่รายงาน ควรแสดงให้เห็นการพัฒนาการ การเจริญเติบโต ก็ให้นำเสนอข้อมูลในเชิงบรรยาย สรุป กระชับ หากมีภาพประกอบ ก็จะเป็นการดี
7. งานด้านใดเป็นงานที่ได้รับรางวัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชาติ หรือ นานาชาติ ก็ควรจะมีการไปติดต่อขอข้อมูลจากบุคคลผู้ที่ได้รับรางวัล พร้อมขอภาพที่เป็นลักษณะของกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย เช่น งานวิจัย การนำเสนอผลงาน หรืออื่น ๆ ที่ได้รับรางวัล
8. งานด้านใด ที่คณะ/หน่วยงานได้รับแจ้งจากหน่วยงานภายนอก หรือจากระดับมหาวิทยาลัย ว่ามีผลงานในด้านใด ที่ดี และอยู่ในอันดับต้น ๆ ก็ควรจะมีการจัดเก็บข้อมูล และใส่ไว้ในรายงานด้วย (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหาร)
9. กิจกรรมใดที่จัดเป็นกิจกรรมเด่นของคณะฯ และเคยได้รับรางวัล ก็ควรจะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นรายปี
10. การนำเสนอข้อมูลที่เป็นรูปภาพ สิ่งที่ควรคำนึงคือ คำอธิบายประกอบภาพ เช่น ชื่อกิจกรรมสถานที่ วันที่ เข้าร่วมในโครงการหรือการประชุมใด และบุคคลในภาพประกอบ ให้จัดเก็บข้อมูลที่สะดวกต่อการค้นหา เช่น นำภาพมาแสดงไว้ใน Microsoft Word แล้วเขียนคำอธิบายไว้ใต้ภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเพื่อเสนอพิจารณาคัดเลือกต่อไป
11. การจัดทำข้อมูลในแต่ละด้าน สิ่งที่สำคัญที่สุด และทำความเข้าใจร่วมกัน คือการปรับแก้ไข ที่จะมีอยู่เสมอ จนกว่ารายงานจะออกมาสมบูรณ์ที่สุด
12. ข้อมูลที่ส่งโรงพิมพ์ดำเนินการจัดพิมพ์ ควรจะมีข้อมูลชุดที่เป็นต้นฉบับเก็บไว้ที่หน่วยงานด้วย และอย่าลืมขอ File ข้อมูลจากโรงพิมพ์ด้วย เพราะการนำไปจัดพิมพ์ที่โรงพิมพ์ จะมีการใช้พิมพ์อีกโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งจุดนี้ต้องทำความตกลงกับโรงพิมพ์ก่อนเสมอ หากเราต้องการ File ข้อมูลที่สามารถแก้ไข เก็บไว้ที่หน่วยงานด้วย
13. File รูปภาพที่นำมาจัดทำต้องมีนามสกุลเป็น .JPEG

14. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดทำหนังสือรายงานประจำปี คือ การประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยงานในคณะได้รับทราบ ว่า คณะมีการจัดทำหนังสือรายงานประจำปี เพราะจะได้รับทราบร่วมกัน และช่วยเหลือข้อมูลในส่วนที่ขาดหายไป ให้รายงานประจำปีสมบูรณ์ที่สุด หากเราไม่แจ้งให้ทราบ ผู้ที่ไปติดต่อขอข้อมูล จะเกิดความลำบากใจเมื่อไปติดต่อข้อมูล เพราะความไม่เข้าใจร่วมกัน หรือบางครั้งให้ข้อมูลดิบโดยไม่ได้สรุปข้อมูลมาให้ ซึ่งจุดนี้ทำให้เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง จากประสบการณ์ที่ผ่าน

ส่งe-journal

http://www.mediafire.com/?56zj33w3w5h5s0c#2

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่3

อ้างอิง
แหล่งข้อมูลใดที่ควรใช้เป็นแหล่งอ้างอิง
แหล่งข้อมูลควรเป็นของบุคคลที่สามที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเนื้อหา ไม่ควรอ้างอิงเว็บบล็อก เว็บบอร์ด เว็บไซต์ส่วนตัว หนังสือที่จ้างสำนักพิมพ์พิมพ์ขึ้นมาเอง เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจมีเนื้อหาที่ไม่เป็นกลาง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการประชาสัมพันธ์ไปยังเว็บไซต์หรือหนังสือเหล่านั้น การอ้างอิงเว็บไซต์ส่วนตัวจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นการอ้างถึง "คำพูด" จากผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ส่วนตัวดังกล่าว ควรอ้างอิงตามแหล่งข้อมูลต้นฉบับซึ่งไม่ละเมิดลิขสิทธิ์มาจากแหล่งอื่นอีกต่อหนึ่ง และหากเป็นไปได้แหล่งข้อมูลนั้นควรเป็นภาษาไทย
แหล่งอ้างอิงต้องมีความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะมาจากเว็บไซต์หรือหนังสือ ไม่ควรอ้างอิงจากคำบอกเล่ากันมาปากต่อปากหรืออ้างอิงไปที่ตัวบุคคล เพราะไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ ไม่ควรอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่เนื้อหาสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของข้อมูล เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบความมีตัวตนของผู้เขียนหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลได้ ไม่อ้างอิงบทความอื่นในวิกิพีเดียไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่น ถ้าเนื้อหาที่เขียนแปลมาจากวิกิพีเดียภาษาอื่นควรระบุแหล่งอ้างอิงตามต้นฉบับด้วย หรือหาแหล่งอื่นมาเพิ่ม
แหล่งอ้างอิงควรสามารถเข้าถึงได้โดยบุคคลทั่วไป มิใช่เอกสิทธิ์เฉพาะบางกลุ่มหรือต้องทำตามเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นได้ รวมทั้งเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องสมัครก่อนเข้าถึงเนื้อหา ไม่เป็นเอกสารภายในองค์กรที่ไม่มีการเผยแพร่สู่แหล่งสาธารณะ เช่นแผ่นพับ รายงาน งบการเงิน เป็นต้น (ปกติแล้วแผ่นพับมักจะให้เนื้อหาในทางโฆษณาซึ่งไม่ผ่านนโยบายความเป็นกลาง) หากเป็นแหล่งข้อมูลหนังสือ ควรมีเลข ISBN หรือ ISSN กำกับ เพื่อให้สามารถพิสูจน์ยืนยันและสืบค้นได้ง่ายตามห้องสมุด

ข่าวประจำสัปดาห์ที่2


การอ้างอิง
เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหาลงในบทความ คุณควรอ้างถึงแหล่งที่มาข้อมูลนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดข้อสงสัย หากคุณเขียนขึ้นจากความทรงจำ คุณควรค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เพื่ออ้างถึงมัน แต่ถ้าคุณเขียนขึ้นจากความรู้ของคุณเอง คุณก็ควรจะมีความรู้มากพอที่จะระบุแหล่งอ้างอิงที่ผู้อ่านสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ เป้าหมายหลัก คือ ช่วยเหลือผู้อ่าน และผู้เขียนคนอื่น ๆ
การอ้างอิงแหล่งที่มาจะมีความสำคัญมากในบทความที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หลีกเลี่ยงการใช้คำกล่าวเลื่อนลอย ถ้อยคำคลุมเครือ หรือถ้อยคำกำกวม (weasel word) เช่น "บางคนกล่าวว่า…" หรือ "มีผู้วิจารณ์ว่า…" แต่ควรทำให้การแก้ไขของคุณสามารถพิสูจน์ได้ โดยค้นคว้าว่าใครหรือกลุ่มใดเป็นผู้แสดงความเห็น รวมทั้งอ้างถึง หลักฐานของการแสดงความเห็นดังกล่าวด้วย โปรดจำไว้ว่าวิกิพีเดียไม่ใช่ที่สำหรับแสดงความคิดเห็นส่วนตัว
เนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง สามารถถูกผู้ใช้ลบได้ในทุกเมื่อ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ผู้อื่นอาจไม่พอใจที่คุณลบเนื้อหาโดยไม่ให้โอกาสคนอื่นเติมแหล่งอ้างอิง ดังนั้น คุณอาจจะ เติมป้าย {{ต้องการอ้างอิง}}, {{ต้องการอ้างอิงย่อหน้านี้}}, หรือ {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} หรือคัดเนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง ไปใส่หน้าอภิปรายแทน เพื่อรอจนกว่าจะพบแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
เมื่อใดที่ควรอ้างอิง
เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหา
เมื่อคุณตรวจสอบ ยืนยัน ความถูกต้องเนื้อหา
ข้อมูลจากคนกลาง: บอกด้วยว่าคุณได้มาจากไหน
เนื้อหาที่เป็น หรือน่าจะเป็นที่กังขา หรืออาจเป็นข้อมูลที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ
เมื่อคุณอ้างอิงคำพูด จากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
เมื่อคุณเสนอข้อมูลทางสถิติ หรือ อ้างถึงอันดับ หรือ ความเป็นที่สุด
เมื่อกล่าวถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอัตชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่

ข่าวประจำสัปดาห์ที่1

อ้างอิง
โดยทั่วไป การอ้างอิง คือการอ้างถึงบางสิ่ง หรือการอธิบายบางสิ่งหรือสิ่งที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างสองสิ่ง ความเกี่ยวข้องกันระหว่างสองสิ่งนั้นอาจเป็น หนังสือ สถานที่ หรือบทคัดย่อ เช่น ข้อมูล, ความคิด หรือความจำ สิ่งที่เป็นสิ่งอ้างอิง เรียกว่า ผู้ถูกอ้างอิง
ความหมายของการอ้างอิง มีความหมายต่างกันในแต่ล่ะการใช้งาน ดังนี้
[แก้] อรรถศาสตร์
ในภาษาอังกฤษโดยทั่วไปในทางอรรถศาสตร์ การอ้างอิง หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างนามหรือสรรพนามกับวัตถุที่อ้างถึง ยกตัวอย่างเช่น คำว่า John ที่หมายถึง สุนัขชื่อ John เมื่อเราใช้สรรพนามบุรุษที่สาม คือ it นั้นคือการอ้างถึงสุนัขชื่อ John ซึ่งเป็นผู้ถูกอ้างอิงนั้นเอง
[แก้] ศิลปะ
ทางศิลปะ การอ้างอิงแสดงถึงผลงานที่เป็นพื้นฐานของศิลปะชิ้นนั้น รวมถึงผลงานศิลปะเดิมที่มีอยู่ เช่นการอัดสำเนารูปภาพ

การอ้างอิง เป็นบทความเกี่ยวกับ วิชา ความรู้ และศาสตร์ต่างๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีลดโลกร้อน

การลดภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องช่วยกันทำ เราทุกคนก็ต่างมีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้น เพราะเพียงแค่เราหายใจอยู่เฉยๆก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาแล้ว ยังไม่รวมถึงกิจกรรมต่างๆมากมายที่เราทำอยู่ทุกๆวัน ถึงเวลาที่เราต้องเลิกคิดว่าภาวะโลกร้อนไม่ใช่ธุระของเรา แล้วหันมาร่วมมือกัน..มาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาโลกร้อนกันเถอะ
ถ้าท่านคิดว่าการลดภาวะโลกร้อนนั้นมันทำได้ยาก หรือคิดว่าท่านคนเดียวช่วยโลกไม่ได้ หรือว่าจะทำตอนนี้มันก็ไม่มีอะไรดีขึ้นแล้ว ท่านกำลังคิดผิด!! ทุกอย่างที่เราทำจะส่งผลดีต่อโลก และมันยังมีเวลาอยู่ ถ้าไม่เริ่มที่ตัวเราก่อนก็ไม่รู้จะให้ไปเริ่มจากตรงไหน แค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของเราทำอยู่ในวันๆหนึ่ง ก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้แล้ว ผมจะยกตัวอย่างให้ดูซัก 10 ข้อ ผมเชื่อว่ามันใกล้ตัวทุกท่านมาก และสามารถลงมือทำได้เลยด้วยซ้ำ
1. ปรับ Desktop Wallpaper ของท่านให้เป็นสำเข้ม ยิ่งเป็นสีดำเลยยิ่งดี เพราะว่ามันจะประหยัดไฟมากกว่า รวมไปถึง Screen Saver ก็ให้ตั้ง Blank ไว้ มันจะเป็นหน้าจอดำสนิท ปิดคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ได้ใช้งาน เช่น ตอนพักเที่ยง และตอนกลับบ้าน
2. พกผ้าเช็ดหน้า แทนที่จะใช้กระดาษทิชชู สมัยนี้มีกระดาษทิชชูห่อสวยๆพกง่ายๆออกมา หลายคนใช้มันแทนผ้าเช็ดหน้า เพราะว่ามันสะดวกและห่อมันก็น่ารักด้วย แต่กระดาษทิชชูผลิตมาจากต้นไม้ ยิ่งใช้มากก็ยิ่งต้องตัดมาก ถ้าไม่จำเป็นก็ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าดีกว่าครับ เก็บต้นไม้ไว้เป็นปอดให้กับโลกเราบ้างเถอะนะ
3. การชาร์ตแบตมือถือ การชาร์ตแบตมือถือของคนทั่วๆไปเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 95% เพราะว่ามักจะเสียบสายค้างไว้ทั้งๆที่แบตเต็มแล้ว ท่านรู้ไหมว่าถึงแบตจะเต็มแล้วแต่ว่าถ้าไม่ถอดออกมันก็จะยังกินไฟอยู่ ฉะนั้นเวลาแบตเต็มแล้วก็ให้ถอดสายออก แต่ถ้ายังเสียบหม้อแปลงกับเต้าเสียบค้างไว้มันก็ยังกินไฟอยู่ดี เพราะฉะนั้นก็ให้ถอดออกให้หมด
4. ประหยัดน้ำ อย่าใช้น้ำแบบสิ้นเปลือง ถ้ามีโอกาสได้เปลี่ยนก๊อกที่บ้าน ก็ให้ใช้ก๊อกน้ำแบบเพิ่มฟองอากาศ น้ำที่ไหลออกมาจะมีฟองอากาศออกมาด้วยทำให้ดูเหมือนมีน้ำเยอะ แต่จะประหยัดกว่าก๊อกธรรมดาถึงครึ่งหนึ่ง ถ้านึกไม่ออกให้ดูห้องน้ำตามห้าง น้ำที่ไหลออกมาจะเป็นแบบนั้น และเวลาใช้น้ำที่อื่นที่ไม่ใช่บ้านเราก็ควรจะประหยัดด้วย ไม่ใช่คิดว่าของฟรี หรือเวลาไปพักตามโรงแรมก็อย่าคิดว่าใช้ให้คุ้ม เพราะว่าทำแบบนี้แหละโลกถึงร้อน
5. ประหยัดไฟ ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้และถอดปลั๊กด้วย รวมไปถึงหลอดไฟด้วย ถ้ามีโอกาสก็เปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดไฟ CFL ซะ ที่มันเป็นเกลียวๆ ถึงหลอดพวกนี้จะแพงกว่า แต่ก็ประหยัดไฟกว่ามาก แถมอายุการใช้งานก็ยาวกว่าเยอะ ซึ่งในระยะยาวก็จะคุ้มกว่าแน่นอน
6. ลดใช้ถุงพลาสติก ถุงพลาสติกทำให้เราสะดวกขึ้นก็จริง แต่มันเป็นภัยต่อโลกอย่างมากมาย กว่าถุงที่เราใช้จะย่อยสลายไป ตัวเรานั้นย่อยสลายก่อนมันไปนานแล้ว เพราะฉะนั้นเวลาที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ แต่ถ้าต้องใช้จริงๆก็ให้เก็บไว้เพื่อนำไปใช้ครั้งต่อไปได้อีก เวลาจ่ายตลาดก็ให้ใช้ถุงผ้าแทน ถุงผ้าสวยๆก็มีออกมาขายกันเยอะแยะ
7. ลดอาหารแช่แข็ง อาหารแช่แข็งตอนนี้กำลังมีมากขึ้นเรื่อยๆ และก็เห็นมีคนนิยมบริโภคมากขึ้นเหมือนกัน แต่ท่านรู้ไหมว่าขั้นตอนการผลิตนั้นทำให้สิ้นเปลืองพลังงานอย่างมาก เพราะว่ากล่องที่ใส่ก็เป็นพลาสติก ขั้นตอนในการขนส่งก็ต้องเก็บไว้ในที่เย็นตลอดเวลา รวมไปถึงตอนที่อยู่ในร้านด้วย แม้กระทั่งตอนจะกินยังต้องใช้พลังงานในการอุ่นอีก เพราะฉะนั้นถ้าไม่จำเป็นก็อย่ากินเลยครับ มันสิ้นเปลืองพลังงาน กินของสดอร่อยกว่าอีก
8. ใช้จักรยาน เวลาที่ท่านไปทำธุระใกล้ๆบ้าน อาจจะไปซื้อของ จ่ายตลาด นอกจากจะประหยัดน้ำมันในยุคที่น้ำมันแพงแล้ว ยังช่วยให้ท่านได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพที่ดีอีกด้วย ไม่ต้องไปเสียเงินเข้าฟิตเนสแพงๆ
9. ลดการ Shopping หลายคนนั้นการ Shopping เป็นอะไรที่มีความสุขเหลือเกิน แต่ก็ขอให้ลดการซื้อแบบสิ้นเปลืองลงบ้าง บางทีก็ซื้อๆไปอย่างนั้นแหละ แต่ก็ได้ใส่แค่ครั้งสองครั้ง บางชิ้นอาจไม่ได้ใส่ด้วยซ้ำ แต่อยากซื้อ..อะไรที่คิดว่าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องซื้อหรอกครับ เอาแค่อันที่เราจะใส่จริงๆ เพราะว่ามันต้องใช้พลังงานมากมายในอุตสาหกรรมพวกนี้
10. ปลูกต้นไม้ ผมว่ามนุษย์ทุกคนชอบธรรมชาติ เวลาที่เราได้เห็นสถานที่ที่มีธรรมชาติงดงาม ไม่ว่าจะเป็นป่าไม่ที่เขียวชอุ่ม น้ำใสๆ ชายหาดที่ขาวสะอาด เราจะรู้สึกสบายใจและชอบมัน แต่ว่าพวกเราก็ไม่ได้ช่วยกันรักษามัน เพราะฉะนั้นถ้ามีเวลาก็ให้ช่วยกันปลูกต้นไม้ อาจจะเป็นที่สวนหน้าบ้านได้ หรือมีเนื้อที่ตรงไหนก็ปลูกตรงนั้น ใส่กระถางไว้ก็ได้ นอกจากจะทำให้บ้านดูสวยขึ้นแล้ว ยังจะช่วยลดก๊าซพิษในอากาศได้อีกด้วย
ผมเชื่อว่า 10 วิธีที่ผมยกตัวอย่างมานี้ ต้องมีมากกว่าหนึ่งข้อที่คุณสามารถทำได้ คุณไม่จำเป็นต้องทำทุกข้อ แต่ยิ่งทำมากก็ยิ่งดี แค่นี้คุณก็จะได้มีส่วนในการช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้ว ส่วนจะทำมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของแต่ละคน และสุดท้ายนี้อยากบอกทุกคนว่าในโลกนี้ไม่มีความสำเร็จไหนที่ยิ่งใหญ่จริงๆ มีแต่ความสำเร็จเล็กๆที่รวมกันขึ้นมา จนสามารถกลายเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้ เพราะฉะนั้นอย่านึกว่าสิ่งเล็กๆเหล่านี้ที่เราทำมันไม่มีความหมายนะครับ