วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่3

อ้างอิง
แหล่งข้อมูลใดที่ควรใช้เป็นแหล่งอ้างอิง
แหล่งข้อมูลควรเป็นของบุคคลที่สามที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเนื้อหา ไม่ควรอ้างอิงเว็บบล็อก เว็บบอร์ด เว็บไซต์ส่วนตัว หนังสือที่จ้างสำนักพิมพ์พิมพ์ขึ้นมาเอง เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจมีเนื้อหาที่ไม่เป็นกลาง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการประชาสัมพันธ์ไปยังเว็บไซต์หรือหนังสือเหล่านั้น การอ้างอิงเว็บไซต์ส่วนตัวจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นการอ้างถึง "คำพูด" จากผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ส่วนตัวดังกล่าว ควรอ้างอิงตามแหล่งข้อมูลต้นฉบับซึ่งไม่ละเมิดลิขสิทธิ์มาจากแหล่งอื่นอีกต่อหนึ่ง และหากเป็นไปได้แหล่งข้อมูลนั้นควรเป็นภาษาไทย
แหล่งอ้างอิงต้องมีความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะมาจากเว็บไซต์หรือหนังสือ ไม่ควรอ้างอิงจากคำบอกเล่ากันมาปากต่อปากหรืออ้างอิงไปที่ตัวบุคคล เพราะไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ ไม่ควรอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่เนื้อหาสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของข้อมูล เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบความมีตัวตนของผู้เขียนหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลได้ ไม่อ้างอิงบทความอื่นในวิกิพีเดียไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่น ถ้าเนื้อหาที่เขียนแปลมาจากวิกิพีเดียภาษาอื่นควรระบุแหล่งอ้างอิงตามต้นฉบับด้วย หรือหาแหล่งอื่นมาเพิ่ม
แหล่งอ้างอิงควรสามารถเข้าถึงได้โดยบุคคลทั่วไป มิใช่เอกสิทธิ์เฉพาะบางกลุ่มหรือต้องทำตามเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นได้ รวมทั้งเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องสมัครก่อนเข้าถึงเนื้อหา ไม่เป็นเอกสารภายในองค์กรที่ไม่มีการเผยแพร่สู่แหล่งสาธารณะ เช่นแผ่นพับ รายงาน งบการเงิน เป็นต้น (ปกติแล้วแผ่นพับมักจะให้เนื้อหาในทางโฆษณาซึ่งไม่ผ่านนโยบายความเป็นกลาง) หากเป็นแหล่งข้อมูลหนังสือ ควรมีเลข ISBN หรือ ISSN กำกับ เพื่อให้สามารถพิสูจน์ยืนยันและสืบค้นได้ง่ายตามห้องสมุด

ข่าวประจำสัปดาห์ที่2


การอ้างอิง
เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหาลงในบทความ คุณควรอ้างถึงแหล่งที่มาข้อมูลนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดข้อสงสัย หากคุณเขียนขึ้นจากความทรงจำ คุณควรค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เพื่ออ้างถึงมัน แต่ถ้าคุณเขียนขึ้นจากความรู้ของคุณเอง คุณก็ควรจะมีความรู้มากพอที่จะระบุแหล่งอ้างอิงที่ผู้อ่านสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ เป้าหมายหลัก คือ ช่วยเหลือผู้อ่าน และผู้เขียนคนอื่น ๆ
การอ้างอิงแหล่งที่มาจะมีความสำคัญมากในบทความที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หลีกเลี่ยงการใช้คำกล่าวเลื่อนลอย ถ้อยคำคลุมเครือ หรือถ้อยคำกำกวม (weasel word) เช่น "บางคนกล่าวว่า…" หรือ "มีผู้วิจารณ์ว่า…" แต่ควรทำให้การแก้ไขของคุณสามารถพิสูจน์ได้ โดยค้นคว้าว่าใครหรือกลุ่มใดเป็นผู้แสดงความเห็น รวมทั้งอ้างถึง หลักฐานของการแสดงความเห็นดังกล่าวด้วย โปรดจำไว้ว่าวิกิพีเดียไม่ใช่ที่สำหรับแสดงความคิดเห็นส่วนตัว
เนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง สามารถถูกผู้ใช้ลบได้ในทุกเมื่อ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ผู้อื่นอาจไม่พอใจที่คุณลบเนื้อหาโดยไม่ให้โอกาสคนอื่นเติมแหล่งอ้างอิง ดังนั้น คุณอาจจะ เติมป้าย {{ต้องการอ้างอิง}}, {{ต้องการอ้างอิงย่อหน้านี้}}, หรือ {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} หรือคัดเนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง ไปใส่หน้าอภิปรายแทน เพื่อรอจนกว่าจะพบแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
เมื่อใดที่ควรอ้างอิง
เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหา
เมื่อคุณตรวจสอบ ยืนยัน ความถูกต้องเนื้อหา
ข้อมูลจากคนกลาง: บอกด้วยว่าคุณได้มาจากไหน
เนื้อหาที่เป็น หรือน่าจะเป็นที่กังขา หรืออาจเป็นข้อมูลที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ
เมื่อคุณอ้างอิงคำพูด จากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
เมื่อคุณเสนอข้อมูลทางสถิติ หรือ อ้างถึงอันดับ หรือ ความเป็นที่สุด
เมื่อกล่าวถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอัตชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่

ข่าวประจำสัปดาห์ที่1

อ้างอิง
โดยทั่วไป การอ้างอิง คือการอ้างถึงบางสิ่ง หรือการอธิบายบางสิ่งหรือสิ่งที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างสองสิ่ง ความเกี่ยวข้องกันระหว่างสองสิ่งนั้นอาจเป็น หนังสือ สถานที่ หรือบทคัดย่อ เช่น ข้อมูล, ความคิด หรือความจำ สิ่งที่เป็นสิ่งอ้างอิง เรียกว่า ผู้ถูกอ้างอิง
ความหมายของการอ้างอิง มีความหมายต่างกันในแต่ล่ะการใช้งาน ดังนี้
[แก้] อรรถศาสตร์
ในภาษาอังกฤษโดยทั่วไปในทางอรรถศาสตร์ การอ้างอิง หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างนามหรือสรรพนามกับวัตถุที่อ้างถึง ยกตัวอย่างเช่น คำว่า John ที่หมายถึง สุนัขชื่อ John เมื่อเราใช้สรรพนามบุรุษที่สาม คือ it นั้นคือการอ้างถึงสุนัขชื่อ John ซึ่งเป็นผู้ถูกอ้างอิงนั้นเอง
[แก้] ศิลปะ
ทางศิลปะ การอ้างอิงแสดงถึงผลงานที่เป็นพื้นฐานของศิลปะชิ้นนั้น รวมถึงผลงานศิลปะเดิมที่มีอยู่ เช่นการอัดสำเนารูปภาพ

การอ้างอิง เป็นบทความเกี่ยวกับ วิชา ความรู้ และศาสตร์ต่างๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553